เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้
สถานการณ์เด็กและเยาวชนไทยที่มีอัตราการเกิดต่ำ จากที่มีเด็กเกิดสูงสุด เฉลี่ยปีละ 1,000,000 คน ในช่วงระหว่างปี 2506-2526 แต่ ปี 2564-2566 อัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงเหลือเฉลี่ยแค่ปีละ 500,000 คน ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตที่รัฐบาลไทยกำหนดให้การแก้ปัญหานี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ 2566 ’ส่งเสริมการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ’
นอกจากประชากรจะเกิดน้อยลง เรื่องคุณภาพของการศึกษาและความสามารถของคนไทย ยังคงเป็นข้อจำกัดของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในแข่งขัน การแก้ปัญหาและการพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน และเป็นประเด็นทางสังคมที่มีความสำคัญลำดับต้น ๆ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างแรงงานและประชากรที่มีคุณภาพสำหรับประเทศในอนาคตแล้ว ยังเป็นการแก้ความเดือดร้อนในปัจจุบันไปพร้อม ๆ กัน
<aside> <img src="/icons/push-pin_gray.svg" alt="/icons/push-pin_gray.svg" width="40px" /> Content
</aside>
เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้ (Learning Space Incubator Network) เป็นแพลต์ฟอร์มที่ร่วมภาคีเครือข่ายบ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้ในแผนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ทั่วประเทศ เพื่อระดมการสนับสนุน เช่น เงินทุน อาสาสมัคร ทรัพยากรต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดพื้นที่เรียนรู้ที่ใกล้บ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล
https://lookerstudio.google.com/s/rxfeFiRwUv8
การสร้างและขยายผลพื้นที่เรียนรู้ผ่านโปรแกรมบ่มเพาะ มีจุดเน้นสำคัญในเรื่อง การต่อยอดจากต้นแบบพื้นที่เรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปี 2566 พัฒนาขีดความสามารถให้เป็น “ศูนย์บ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้” ที่มีหลักสูตรและกระบวนการพัฒนาให้เกิดพื้นที่เรียนรู้แห่งใหม่ ภายใต้เป้าหมายที่มุ่งให้เด็กเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ใกล้บ้าน และส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวของศูนย์บ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้เหล่านี้เพื่อให้เป็น เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้ ที่เข้มแข็ง สามารถต่อยอดความร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อระดมทรัพยากรตอบโจทย์ความยั่งยืน
ศึกษาโมเดลโปรแกรมบ่มเพาะ เพิ่มเติม
https://lookerstudio.google.com/embed/reporting/24dec83b-63c1-4b1c-b736-0a0a15c67da9/page/MJ6DE